วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

1.1 การกำเนิดไฟฟ้า

ความหมายของไฟฟ้า
                  ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของคำว่า ไฟฟ้าไว้ว่า พลังงานรูปหนึ่ง
ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแยกตัวออกมา หรือการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนหรือโปรตอนหรืออนุภาคอื่นที่มีสมบัติแสดงอำนาจคล้ายคลึงกับอิเล็กตรอนหรือโปรตอน ที่ก่อให้เกิดพลังงานอื่น เช่น ความร้อนแสงสว่าง การเคลื่อนที่ เป็นต้น” 

การกำเนิดพลังงานไฟฟ้าที่สำคัญ มี 5 วิธี ดังนี้
            1. ไฟฟ้าที่เกิดจากการเสียดสีของวัตถุ เป็นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการนำวัตถุต่างกัน 2 ชนิดมาขัดสีกัน   เช่น แท่งยางกับผ้าขนสัตว์ แท่งแก้วกับผ้าแพร แผ่นพลาสติกกับผ้า หวีกับผม เป็นต้น  ผลของการขัดสีดังกล่าวทำให้เกิดความไม่สมดุลขึ้นของประจุไฟฟ้าในวัตถุทั้งสอง เนื่องจากเกิด  การถ่ายเทประจุไฟฟ้า วัตถุทั้งสองจะแสดงศักย์ไฟฟ้าออกมาต่างกัน วัตถุชนิดหนึ่งแสดงศักย์ไฟฟ้าบวก (+) ออกมา วัตถุอีกชนิดหนึ่งแสดงศักย์ไฟฟ้าลบ (–) ออกมา ซึ่งเรียกว่า ไฟฟ้าสถิต ดังภาพ
            1. ไฟฟ้าที่เกิดจากการเสียดสีของวัตถุ เป็นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการนำวัตถุต่างกัน 2 ชนิดมาขัดสีกัน เช่น แท่งยางกับผ้าขนสัตว์ แท่งแก้วกับผ้าแพร แผ่นพลาสติกกับผ้า หวีกับผม เป็นต้น  ผลของการขัดสีดังกล่าวทำให้เกิดความไม่สมดุลขึ้นของประจุไฟฟ้าในวัตถุทั้งสอง เนื่องจากเกิด  การถ่ายเทประจุไฟฟ้า วัตถุทั้งสองจะแสดงศักย์ไฟฟ้าออกมาต่างกัน วัตถุชนิดหนึ่งแสดงศักย์ไฟฟ้าบวก (+) ออกมา วัตถุอีกชนิดหนึ่งแสดงศักย์ไฟฟ้าลบ (–) ออกมา ซึ่งเรียกว่า ไฟฟ้าสถิต ดังภาพ
ภาพไฟฟ้าที่เกิดจากการเสียดสีของวัตถุ


2. ไฟฟ้าที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาทางเคมี   เป็นไฟฟ้าที่เกิดจากการนำโลหะ 2 ชนิด
ที่แตกต่างกัน โลหะทั้งสองจะทำปฏิกิริยาเคมีกับสารละลายอิเล็กโทรไลท์ ซึ่งปฏิกิริยาทางเคมีแบบนี้เรียกว่า โวลตาอิกเซลล์ เช่น สังกะสีกับทองแดงจุ่มลงในสารละลายอิเล็กโทรไลท์ จะเกิดปฏิกิริยาเคมีทำให้เกิดไฟฟ้าดังตัวอย่างในแบตเตอรี่ และถ่านอัลคาไลน์ (ถ่านไฟฉาย) เป็นต้น




ภาพอุปกรณ์กำเนิดไฟฟ้าจากการทำปฏิกิริยาเคมี

3. ไฟฟ้าที่เกิดจากความร้อน   เป็นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการนำแท่งโลหะหรือแผ่นโลหะ
ต่างชนิดกัน 2 แท่ง โดยนำปลายด้านหนึ่งของโลหะทั้งสองต่อติดกันด้วยการเชื่อมหรือยึดด้วยหมุดปลายที่เหลืออีกด้านนำไปต่อกับมิเตอร์วัดแรงดัน เมื่อให้ความร้อนที่ปลายด้านต่อติดกันของโลหะทั้งสอง ส่งผลให้เกิดการแยกตัวของประจุไฟฟ้าเกิดศักย์ไฟฟ้าขึ้นที่ปลายด้านเปิดของโลหะ แสดงค่าออกมาที่มิเตอร์

4. ไฟฟ้าที่เกิดจากพลังงานแสงอาทิตย์   เป็นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการสร้างเซลล์แสงอาทิตย์

(Solar Cell) ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า

ภาพเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า

5. ไฟฟ้าที่เกิดจากพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า   เป็นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากพลังงานแม่เหล็ก
โดยการใช้ลวดตัวนำไฟฟ้าตัดผ่านสนามแม่เหล็ก หรือการนำสนามแม่เหล็กวิ่งตัดผ่านลวดตัวนำอย่างใดอย่างหนึ่ง จะทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลในลวดตัวนำนั้น กระแสที่ผลิตได้มีทั้งกระแสตรงและกระแสสลับ
                                                                            
                                                   ภาพอุปกรณ์กำเนิดไฟฟ้าจากพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า
รูปภาพจาก https://www.google.co.th/searc







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น