กระทรวงพลังงาน
ประวัติกระทรวงพลังงาน
ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาด้านพลังงานเนื่องจากมีแหล่งพลังงานธรรมชาติไม่เพียงพอต่อ
การผลิตและการบริการของภาคเอกชนและประชาชนโดยต้องพึ่งพาพลังงานประเภทต่างๆจากต่างประเทศโดยเฉพาะปิโตรเลียมวันละประมาณ7แสนบาเรลหรือร้อยละ63ของการจัดหาทรัพยากรปิโตรเลียมของประเทศทำให้วิกฤติการณ์ทางด้านพลังงานของโลกมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อ
ระบบการเงินการคลังรวมทั้งภาคการผลิตและบริการของเอกชนและภาคประชาชนของประเทศไทยปัญหาด้านพลังงานจึงเป็นประเด็นสำคัญที่มีผลต่อการแข่งขันของประเทศในเวทีโลกจึงจำเป็น
ต้องมีการเตรียมพร้อมทางด้านพลังงานจัดหาแหล่งพลังงานธรรมชาติเพิ่มขึ้นโดยการประสาน
ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์จากพลังงานภายใน
ประเทศรวมทั้งพลังงานทดแทนอย่างจริงจังควบคู่ไปกับการสนับสนุนการแข่งขันของภาคเอกชน
ในการดำเนินงานธุรกิจพลังงานภายในประเทศโดยควบคุมด้านคุณภาพและความปลอดภัยให้
ประชาชนผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุดอย่างไรก็ตามการจัดโครงสร้างองค์กรด้านพลังงานของ
ประเทศมีความกระจัดกระจายความรับผิดชอบอยู่ในหลายกระทรวงทบวงกรมเป็นองค์กรที่มี
หน่วยงานราชการซึ่งมีลักษณะควบคุมกำกับดูแลและรัฐวิสาหกิจที่ประกอบการเป็นธุรกิจเพื่อความมั่นคงหรือเป็นสาธารณูปโภคการที่องค์กรด้านพลังงานของรัฐมีความกระจัดกระจายเช่นนี้ก็อาจ
เนื่องมาจากความจำเป็น วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง และภาวะการณ์ ในแต่ละยุคสมัยที่แตกต่าง
กันไปหน่วยงานบางแห่งก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นสาธารณูปโภคสำหรับยกระดับความเจริญของเมืองและท้องถิ่นเช่นการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจึงถูกกำหนดให้ไปสังกัดกระทรวงมหาดไทยหน่วยงานบางหน่วยตั้งขึ้นในสมัยที่ไม่มีกระทรวงทบวงกรมใดดูแลรับผิดชอบเรื่องการผลิตพลังงานจึงสังกัดอยู่ในสำนักนายกรัฐมนตรีดังเช่นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยความต้องการ
พลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาทำให้หน่วยงานด้านพลังงานที่กระจายกัน
อยู่เหล่านี้มีบทบาทสูงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและในบางครั้งการดำเนินงานของ
หน่วยงานหนึ่งอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่ออีกหน่วยงานหนึ่งหากขาดการประสานงานที่ดีและขาดเอกภาพในทางนโยบายนับตั้งแต่ปีพ.ศ.2529เป็นต้นมารัฐบาลจึงคำนึงถึงความจำเป็นที่จะประสาน
นโยบายและกำกับดูแลหน่วยงานที่ กระจัดกระจายเหล่านี้ ให้ดำเนินไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน จึงได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติพ.ศ.2535ขึ้นมารองรับ
หน่วยงานนี้อย่างเป็นทางการโดยให้เป็นหน่วยงานในระดับกรมสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีคณะ
กรรมการชุดนี้ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีองค์ประกอบคือ รัฐมนตรีจากระทรวงที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลังกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กระทรวง
พาณิชย์กระทรวงอุตสาหกรรมกระทรวงคมนาคมกระทรวงการต่างประเทศกระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเลขาธิการคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติผู้อำนวยการสำนักงบประมาณและอธิบดีกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานเป็นกรรมการมีเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจและพิจารณานโยบายต่างๆที่เกี่ยวกับพลังงานแทนคณะรัฐมนตรีได้แล้วมอบให้ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจรับไปปฏิบัติดังนั้นการที่มี
หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับพลังงานกระจัดกระจายอยู่ในหน่วยงานกว่า20หน่วยงานใน9
กระทรวงนี้เองทำให้การดำเนินงานที่ผ่านมาขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้บริหารหน่วยงานแต่ละแห่งซึ่งพิจารณาในกรอบอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของตนดังนั้นจึงมีแนวคิดที่จะรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังกล่าวเพื่อให้เกิดเอกภาพภายในการบริหารจัดการงานด้านพลังงานเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวรัฐบาลจึงได้เกิดแนวความคิดเรื่องการจัดตั้ง“กระทรวงพลังงาน”ตลอดมาแต่ก็ไม่อาจทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรมได้จนกระทั่งในรัฐบาลปัจจุบัน นำโดย ฯพณฯ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตรที่ได้มีมติเมื่อคราวการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อปรับบทบาทภารกิจและโครงสร้างของส่วน
ราชการ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2544 จัดตั้ง “ทบวงพลังงาน” และต่อมาเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2545 ที่ประชุมร่วมระหว่างนายกรัฐมนตรี กับรองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับการบริหารราชการแต่ละกระทรวง ทบวงรวม5ท่านได้มีมติให้ยกระดับส่วนราชการ“ทบวงพลังงาน”เป็น“กระทรวงพลังงาน”ซึ่งเป็น
กระทรวงขนาดเล็กที่รับผิดชอบภารกิจเร่งด่วนของรัฐบาลจากความพยายามในการแก้ไขปัญหา
ดังกล่าวการจัดตั้งกระทรวงพลังงานจึงมีเงื่อนไขที่ต้องดำเนินการ ดังนี้
1. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
2. กอง เชื้อเพลิงธรรมชาติ กองวิเคราะห์ (ฝ่ายวิเคราะห์เชื้อเพลิงธรรมชาติ) กรมทรัพยากรธรณี และกองอุตสาหกรรมน้ำมัน สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
3. กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
4. กองควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซ กรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย
5. สำนักน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์
6. มี การนำรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานไฟฟ้า 1แห่งจากสำนักนายกรัฐมนตรีมาสังกัดกระทรวงพลังงาน คือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ส่วนการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.)และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.)ตามมติเมื่อวันที่9มกราคม2545ให้ยังคงสังกัดกระทรวงหมาดไทยไปก่อนแล้วจึงถ่ายโอนมากระทรวงพลังงาน ภายในระยะเวลา 2 ปี
7. มี การนำรัฐวิสาหกิจด้านน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ 1 แห่ง จากกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แก่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ซี่ง กระทรวงการคลังและ ปตท. เป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ มาสังกัดกระทรวงพลังงานรายละเอียด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น