วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

4. การใช้และการประหยัดพลังงานไฟฟ้า

เรื่องที่ 1 กลยุทธ์การประหยัดพลังงานไฟฟ้า 3 อ.

               พลังงานไฟฟ้าเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างหนึ่งในการดำเนินชีวิตของมนุษย์   และมี
ความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่เชื้อเพลิงประเภทฟอสซิลที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า
มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบต่อการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในอนาคต ดังนั้น
ประชาชนควรตระหนักถึงการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างประหยัดและรู้คุณค่า

               การประหยัดพลังงาน คือ การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และรู้คุณค่า การประหยัด
พลังงานนอกจากช่วยลดปริมาณการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของครัวเรือนและ
ประเทศชาติแล้ว ยังช่วยลดปัญหาผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมได้ด้วย กลยุทธ์หนึ่งของประเทศไทย
ที่ประสบความสำเร็จด้านการประหยัดการใช้ไฟฟ้าและพลังงานของชาติ  คือ  กลยุทธ์ประหยัด
พลังงานไฟฟ้า  3  อ.  ได้แก่ อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า  อาคารประหยัดไฟฟ้า  และอุปนิสัยประหยัด
ไฟฟ้า

เริื่องที่ 1  กลยุทธ์การประหยัดพลังงาน 3 อ.
               1. กลยุทธ์ อ. 1 อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า
                   กลยุทธ์ อ. 1 คือ อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า เป็นการส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนเปลี่ยนมาใช้
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง ประหยัดไฟ กฟผ. จึงได้ดำเนินโครงการ “ฉลากประหยัดไฟฟ้า
เบอร์ 5 หรือ ฉลากเบอร์ 5” ซึ่งเป็นการดำเนินงานด้านมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน โดยใช้
ฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพไฟฟ้า ปัจจุบันอุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดฉลากเบอร์ 5
มีหลายชนิด เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ พัดลมไฟฟ้า หม้อหุงข้าวไฟฟ้า และหลอด LED เป็นต้น

ภาพฉลากเบอร์ 5 ของแท้
https://www.google.co.th

                ปัจจุบันฉลากเบอร์ 5 มีผู้ลอกเลียนแบบเป็นจำนวนมาก โดยมีการติดฉลากเลียนแบบ
หรือติดเพียงครึ่งเดียว ซึ่งหาก กฟผ. ตรวจพบจะแจ้งดำเนินคดีตามกฎหมาย ทั้งนี้ กฟผ.
ได้จดทะเบียนเครื่องหมายรับรองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า หากบุคคลใด
ลอกเลียนแบบถือว่า มีความผิด สามารถสังเกตลักษณะของฉลากเบอร์ 5 ของปลอมได้ ดังภาพ


ภาพฉลากเบอร์ 5 ของปลอม
http://www.9engineer.com

               2.  กลยุทธ์ อ. 2 อาคารประหยัดไฟฟ้า
                    กลยุทธ์ อ. 2 คือ อาคารประหยัดไฟฟ้า เป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ
ภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม เห็นความสำคัญและพร้อมใจกันใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า
ที่มีประสิทธิภาพสูง พร้อมกับการใช้มาตรการต่าง ๆ ที่เป็นการประหยัดไฟฟ้า  ทั้งนี้การประหยัดพลังงานไฟฟ้าในอาคารสามารถดำเนินการได้ ดังนี้
               1) ออกแบบวางตำแหน่งอาคาร ควรออกแบบให้ด้านยาวของอาคารหันหน้าเข้าหา
ทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก
               2) ปลูกไม้ยืนต้นให้ร่มเงาแก่อาคาร พร้อมทิ้งชายคาหลังคาหรือจัดทำแผงบังแดด
ช่วยเสริมการบังแดด
               3) ออกแบบภูมิทัศน์รอบอาคารเพื่อลดความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร เช่น ปลูกหญ้า
รอบอาคาร ขุดสระน้ำ ติดตั้งน้ำพุ ดักลมก่อนพัดเข้าสู่อาคาร และปลูกไม้ยืนต้นให้ร่มเงา เป็นต้น
                4) ใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนความร้อน สะท้อน หรือป้องกันความร้อนเป็นผนัง
หลังคา และฝ้าเพดานของอาคาร
                 5) ใช้วัสดุหรือนวัตกรรมที่ช่วยระบายความร้อน เช่น ลูกระบายอากาศอลูมิเนียม
ที่ทำงานโดยไม่ต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้า
                6) ใช้ระบบปรับอากาศ ชนิดประหยัดไฟ และแยกสวิตช์เปิด – ปิดเฉพาะเครื่อง
เพื่อให้ควบคุมการเปิด – ปิดตามความต้องการใช้งานในแต่ละบริเวณ
                7) ลดจำนวนพัดลมดูดอากาศ เพื่อป้องกันการสูญเสียอากาศเย็นมิให้ออกไป
จากห้องปรับอากาศมากเกินไป
                 8) ใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติในเวลากลางวันแทนแสงสว่างจากไฟฟ้า เช่น
ใช้กระเบื้องโปร่งแสง หน้าต่างกระจกใส เป็นต้น
                 9) ใช้หลอดไฟฟ้าแสงสว่างชนิดเกิดความร้อนน้อยที่ดวงโคม เช่น หลอดฟลูออเรส-
เซนต์ ลดความร้อนจากหลอดไฟฟ้าแสงสว่างโดยไม่จำเป็น
               10) ใช้อุปกรณ์นวัตกรรม คือ บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ กับหลอดฟลูออเรสเซนต์
เพื่อยืดอายุการใช้งานของหลอดไฟ และประหยัดค่าไฟฟ้า รวมทั้งใช้ครอบโลหะสะท้อนแสง
เพื่อช่วยเพิ่มความสว่างแก่หลอดไฟ 2 – 3 เท่า โดยใช้จำนวนหลอดไฟเท่าเดิม

               3.  กลยุทธ์ อ. 3 อุปนิสัยประหยัดไฟฟ้า
                   กลยุทธ์ อ. 3  คือ  อุปนิสัยประหยัดไฟฟ้า  เป็นการปลูกจิตสำนึกและอุปนิสัยให้คนไทย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีแนวปฏิบัติหลักในการ
ประหยัดพลังงานไฟฟ้าในครัวเรือน  ดังนี้
               1) ปิดและถอดปลั๊กทุกครั้งหลังเสร็จสิ้นการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า
               2) หมั่นทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ
               3) เลือกขนาดของใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งาน
ทั้งนี้เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดมีวิธีการใช้งานเพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้าที่แตกต่างกัน


เรื่องที่ 2 การเลือกซื้อ เลือกใช้ และดูแลรักษาเครื่องไฟฟ้าในครัวเรือน

               โดยทั่วไปเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในครัวเรือน มักมีการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงเกือบทุกชนิด
เพื่อเป็นการประหยัดและคุ้มค่า ผู้ใช้จึงควรมีความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างถูกวิธี   ในที่นี้
จะกล่าวถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีใช้ทั่วไปในครัวเรือน  เช่น  เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า  กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า
พัดลม  โทรทัศน์  เตารีด  ไฟฟ้า  ตู้เย็น  เป็นต้น
                1. เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า
เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้น้ำร้อนขึ้น โดยอาศัยการพาความร้อนจาก
ขดลวดความร้อนขณะที่กระแสน้ำไหลผ่าน ส่วนประกอบหลักของเครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า คือ
ขดลวดความร้อน หรือเรียกว่า ฮีตเตอร์ และอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ หรือเรียกว่าเทอร์โมสตัท
ซึ่งส่วนประกอบแต่ละส่วนมีหน้าที่แตกต่างกัน ดังนี้
                1) ขดลวดความร้อน มีหน้าที่ให้ความร้อนกับน้ำ
                2) อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ มีหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้าเมื่ออุณหภูมิของน้ำถึงระดับ
ที่ตั้งไว้

ภาพส่วนประกอบของเครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า
http://www.thaihometown.com

การใช้เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าอย่างถูกวิธีและประหยัดพลังงาน
                  1) เลือกเครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งาน เครื่องทำน้ำอุ่นที่ใช้
โดยทั่วไปควรมีขนาดไม่เกิน 4,500 วัตต์
                 2) ตั้งอุณหภูมิน้ำให้อยู่ในช่วง 35 – 45 ํC
                 3) ใช้หัวฝักบัวชนิดประหยัดน้ำ จะประหยัดน้ำได้ถึงร้อยละ 25 – 75
                4) ใช้เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าที่มีถังน้ำภายในตัวเครื่องและมีฉนวนหุ้ม เพราะ
สามารถลดการใช้พลังงานได้มากกว่าชนิดที่ไม่มีถังน้ำภายในร้อยละ 10 – 20
                5) ปิดวาล์วน้ำทุกครั้งขณะฟอกสบู่หรือสระผม
               6) ปิดวาล์วน้ำและสวิตช์ทันทีเมื่อเลิกใช้งาน


               การดูแลรักษาเครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น ลดการใช้พลังงาน
และปัองกันอุบัติเหตุ หรืออันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น มีข้อควรปฏิบัติดังนี้
               1) หมั่นตรวจสอบการทำงานของเครื่องอย่างสม่ำเสมอ ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบความปลอดภัยของเครื่อง
                2) ตรวจดูระบบท่อน้ำและรอยต่อ ไม่ให้มีการรั่วซึม
                3) เมื่อพบความผิดปกติในการทำงานของเครื่อง ควรให้ช่างผู้ชำนาญตรวจสอบ
                4) ต้องมีการต่อสายดิน

                2. กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า
                    กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ในการต้มน้ำให้ร้อน ประกอบด้วยขดลวดความร้อน
อยู่ด้านล่างของกระติก และอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิเป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงาน เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดจะเกิดความร้อน และถ่ายเทไปยังน้ำภายในกระติก  ทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนถึงจุดเดือด จากนั้นอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิจะตัดกระแสไฟฟ้า
ในวงจรหลักออกไป แต่ยังคงมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดความร้อน และแสดงสถานะนี้
โดยหลอดไฟสัญญาณอุ่นจะสว่างขึ้น เมื่ออุณหภูมิของน้ำร้อนภายในกระติกลดลงจนถึงจุด ๆ หนึ่ง
อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิจะทำงานโดยปล่อยให้กระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดความร้อนเต็มที่ทำให้
น้ำเดือดอีกครั้ง

การใช้กระติกน้ำร้อนไฟฟ้าอย่างถูกวิธีและประหยัดพลังงาน
                1) เลือกซื้อรุ่นที่มีตรามาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.)
                 2) ใส่น้ำให้พอเหมาะกับความต้องการหรือไม่สูงกว่าระดับที่กำหนดไว้ เพราะ
จะทำให้กระติกเกิดความเสียหาย
                 3) ระวังไม่ให้น้ำแห้ง หรือปล่อยให้ระดับน้ำต่ำกว่าขีดที่กำหนด เพราะจะทำให้
เกิดไฟฟ้าลัดวงจรในกระติกน้ำร้อน
                 4) ไม่ควรเสียบปลั๊กทิ้งไว้ตลอดเวลา ควรถอดปลั๊กเมื่อเลิกใช้น้ำร้อนแล้ว เพื่อลด
การสิ้นเปลืองพลังงาน
                  5) ไม่นำสิ่งใด ๆ มาปิดช่องไอน้ำออก
                 6) ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในสภาพใช้งานได้เสมอ
                 7) ไม่ควรตั้งไว้ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ

                  การดูแลรักษากระติกน้ำร้อนไฟฟ้าให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น ลดการใช้พลังงานลง
และป้องกันอุบัติเหตุ หรืออันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น มีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้
                1) หมั่นตรวจสายไฟฟ้าและขั้วปลั๊กให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
                2) ควรใช้น้ำ สะอาดสำ หรับต้ม เพื่อป้องกันการเกิดคราบสนิมและตะกรัน
ที่ผิวด้านในกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า
                3) หมั่นทำความสะอาดด้านในกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า ไม่ให้มีคราบตะกรัน เนื่องจากตะกรันจะเป็นตัวต้านทาน การถ่ายเทความร้อนจากขดลวดความร้อนไปสู่น้ำ ทำให้เวลาในการต้มน้ำเพิ่มขึ้น เป็นการสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์
               4) การทำความสะอาดส่วนต่าง ๆ ของกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า


ภาพกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า
https://www.google.co.th/search?

            3. พัดลม
                พัดลม เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการหมุนเวียนอากาศ และระบายความร้อนภายในบ้าน
ซึ่งในปัจจุบันพัดลมที่ใช้มีหลากหลายลักษณะและประเภทขึ้นอยู่กับการใช้งาน
ส่วนประกอบหลักของพัดลม ได้แก่ ใบพัด ตะแกรงหน้า ตะแกรงหลัง มอเตอร์ไฟฟ้า
สวิตช์ควบคุมการทำงาน และกลไกควบคุมการหมุนและส่าย ดังภาพ

ภาพส่วนประกอบหลักของพัดลม
https://www.google.co.th

การใช้พัดลมอย่างถูกวิธีและประหยัดพลังงาน
               1)  เลือกใช้ความแรงของลมให้เหมาะกับความต้องการ ความแรงของลมยิ่งมาก
ยิ่งใช้ไฟฟ้ามาก
               2)  ปิดพัดลมทันทีเมื่อไม่ใช้งาน
               3)  ในกรณีที่พัดลมมีระบบรีโมทคอนโทรล ไม่ควรเสียบปลั๊กทิ้งไว้ เพราะจะมี
ไฟฟ้าเลี้ยงอุปกรณ์ตลอดเวลา
               4)  ควรวางพัดลมในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพราะพัดลมใช้หลักการดูดอากาศจาก
บริเวณด้านหลังของตัวใบพัด แล้วปล่อยออกสู่ด้านหน้า


               การดูแลรักษาพัดลมอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้พัดลมทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และ
ยังช่วยยืดอายุการทำงาน มีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้
               1)  ทำความสะอาดเป็นประจำ โดยเฉพาะ ใบพัด ตะแกรงครอบใบพัด และช่องลม
ตรงฝาครอบมอเตอร์ ไม่ให้มีฝุ่นละอองและคราบน้ำมัน
               2)  ดูแลให้มีสภาพดีอยู่เสมอ ไม่ให้แตกหัก ชำรุด หรือโค้งงอผิดส่วน จะทำให้
ลมที่ออกมามีความแรงของลมลดลง


ภาพพัดลม
https://www.google.co.th

          4. โทรทัศน์
               โทรทัศน์ เป็นอุปกรณ์ที่แปลงสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นภาพด้วยวงจร
อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความซับซ้อน ส่วนประกอบของโทรทัศน์ที่เห็นได้ชัดเจนมีดังนี้
               1) ส่วนประกอบภายนอก คือ ตัวโครงที่ห่อหุ้มอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จอภาพ
ปุ่มหรือสวิตช์ต่าง ๆ และช่องต่อสายอากาศ เป็นต้น
                2) ส่วนประกอบภายใน คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตัวรับ – เปลี่ยนสัญญาณ
เป็นภาพและเสียงที่มาในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ส่วนประกอบของจอภาพและระบบเสียงรวมทั้ง
ลำโพง เป็นต้น

ภาพการส่งสัญญาณโทรทัศน์มายังเครื่องรับโทรทัศน์
https://www.google.co.th

                การดูแลรักษาและใช้โทรทัศน์ให้ถูกวิธี นอกจากจะช่วยให้โทรทัศน์เกิดความคงทน
ภาพที่ได้คมชัด และมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น ควรมีข้อปฏิบัติ ดังนี้
                1) ควรวางโทรทัศน์ไว้ในจุดที่มีการถ่ายเทอากาศได้ดี เพื่อให้เครื่องสามารถระบาย
ความร้อนได้สะดวก
                2) หมั่นทำความสะอาดจอภาพเป็นประจำ เพื่อลดปริมาณฝุ่นละออง โดยใช้ผ้านุ่ม
เช็ดตัวเครื่องโทรทัศน์ ส่วนจอภาพควรใช้ผงซักฟอกอย่างอ่อน หรือน้ำยาล้างจานผสมกับน้ำเช็ด
เบา ๆ จากนั้นเช็ดด้วยผ้านุ่มให้แห้ง และที่สำคัญต้องถอดปลั๊กก่อนทำความสะอาดทุกครั้ง
วัดตามเส้นทแยงมุม ชนขอบดำ



            5.  เตารีดไฟฟ้า
                 เตารีดไฟฟ้า เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีใช้กันแทบทุกครัวเรือน หากเปรียบเทียบกับ
เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่น เตารีดจัดเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กำลังไฟฟ้าสูง การเลือกซื้อและใช้งาน
อย่างถูกวิธีจะสามารถลดการใช้ไฟฟ้าลงได้ เตารีดไฟฟ้าสามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ เตารีด
แบบธรรมดา แบบไอน้ำ และแบบกดทับ
เตารีดไฟฟ้าแต่ละประเภทมีส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ
                1) ไส้เตารีด ทำมาจากโลหะผสมระหว่างนิกเกิลและโครเมียม ทำหน้าที่ให้กำเนิด
ความร้อนเมื่อได้รับกระแสไฟฟ้า โดยความร้อนจะมากหรือน้อยขึ้นกับส่วนผสมของโลหะและ
                2) อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ ทำหน้าที่ปรับความร้อนของไส้เตารีดให้เท่ากับระดับ
ที่ได้ตั้งไว้
                 3) แผ่นโลหะด้านล่างของเตารีด ทำหน้าที่เป็นตัวกดทับเวลารีด และกระจายความร้อน
การใช้เตารีดไฟฟ้าอย่างถูกวิธีและประหยัดพลังงาน
ในการใช้เตารีดไฟฟ้าอย่างประหยัดพลังงาน ไม่ควรลดปริมาณความร้อน
ที่ใช้ในการรีดลง แต่ควรใช้เตารีดไฟฟ้ารีดผ้าอย่างรวดเร็วที่ระดับความร้อนที่เหมาะสมกับ
ความหนาและชนิดของผ้า รวมทั้งควรปฏิบัติ ดังนี้
                1) เก็บผ้าที่รอรีดให้เรียบร้อย และให้ผ้ายับน้อยที่สุด
                2) แยกประเภทผ้าหนาและผ้าบาง เพื่อความสะดวกในการรีด
                3) รวบรวมผ้าที่จะรีดแต่ละครั้งให้มากพอ การรีดผ้าครั้งละชุดทำให้สิ้นเปลือง
ไฟฟ้ามาก
               4) ไม่ควรพรมน้ำมากจนเกินไป เพราะจะทำให้สูญเสียความร้อนจากการรีดมาก
               5) เริ่มรีดจากผ้าบาง ๆ หรือต้องการความร้อนน้อยก่อน จากนั้นจึงรีดผ้าที่ต้องการ
ความร้อนสูง และควรเหลือผ้าที่ต้องการความร้อนน้อยส่วนหนึ่ง ไว้รีดในตอนท้าย
               6) ถอดปลั๊กก่อนเสร็จสิ้นการรีด 3 – 4 นาที
การดูแลรักษาเตารีดไฟฟ้า

                 การดูแลรักษาเตารีดไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เตารีดทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
และช่วยยืดอายุการทำงาน มีข้อควรปฏิบัติดังนี้
                 1) หากพบคราบสกปรกบนหน้าสัมผัสเตารีด ให้ใช้ฟองน้ำชุบน้ำยาทำความสะอาด
โดยเฉพาะของเตารีดไฟฟ้าหรือน้ำยาล้างจานเช็ดออก เพราะคราบสกปรกจะเป็นตัวต้านทาน
ความร้อน ทำให้สิ้นเปลืองไฟฟ้ามากขึ้นในการเพิ่มความร้อน
                  2) สำหรับเตารีดไฟฟ้าไอน้ำ น้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำกลั่นเพื่อป้องกันการเกิดตะกรัน
ซึ่งตะกรันจะเป็นสาเหตุของการเกิดความต้านทานความร้อน
                3) ควรตรวจหรือเปลี่ยนสายไฟซึ่งอาจชำรุดหรือเสื่อมสภาพ เมื่อใช้เตารีดไฟฟ้า
มาเป็นระยะเวลานาน

รูปภาพเตารีดไฟฟ้า
https://www.google.co.th

            6. ตู้เย็น
                 ตู้เย็น เป็นอุปกรณ์ทำความเย็นเพื่อถนอมอาหารโดยการลดอุณหภูมิ ที่ใช้พลังงาน
ตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้นการเลือกและใช้ตู้เย็นอย่างเหมาะสมจะช่วยประหยัดพลังงานได้มาก

การใช้ตู้เย็นอย่างถูกวิธีและประหยัดพลังงาน
                  1) ไม่ควรเปิด – ปิดตู้เย็นบ่อยครั้ง และไม่ควรเปิดตู้เย็นทิ้งไว้ เนื่องจากความร้อน
ภายนอกจะไหลเข้าตู้เย็น ทำให้คอมเพรสเซอร์ต้องทำงานหนักมากขึ้น เพื่อรักษาอุณหภูมิ
ภายในตู้เย็นให้คงเดิมตามที่ตั้งไว้
                 2) ไม่ควรติดตั้งตู้เย็นใกล้กับแหล่งกำเนิดความร้อน หรือรับแสงอาทิตย์โดยตรง
เนื่องจากปริมาณความร้อนจะถูกถ่ายเทเข้าไปในตู้เย็นมากขึ้น เป็นการเพิ่มภาระให้กับระบบ
ทำความเย็น
                 3) ไม่เก็บอาหารในตู้เย็นมากเกินไป เพราะจะทำให้อุณหภูมิในตู้เย็นไม่สม่ำเสมอ
ควรให้มีช่องว่าง เพื่อให้อากาศภายในไหลเวียนได้สม่ำเสมอ
                4) ไม่ควรนำอาหารร้อนแช่ในตู้เย็น เพราะจะทำให้อาหารที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน
เสื่อมคุณภาพหรือเสีย คอมเพรสเซอร์มีอายุการใช้งานสั้นลง และสูญเสียพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น
                5) ไม่ควรเสียบปลั๊กใหม่ทันที เพราะจะส่งผลให้มอเตอร์ของคอมเพรสเซอร์
ทำงานหนัก และเกิดการชำรุดหรืออายุการใช้งานสั้นลง
รูปภาพตู้เย็น
https://www.google.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น